ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชะอำ
ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชะอำ
999/22 ถ.ชลประทาน(ไทรย้อย) ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120
โทร 032-451152 , 089-9138721
-----------------------------------------
ประธานกรรมการบริหารศูนย์ฯ จอ. เขียน สร้อยสม
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชะอำ
เป็นศูนย์กลางให้เกษตรกรได้เข้ามามีส่วนร่วมคิดวิเคราะห์วางแผน และการบิรหารจัดการแผนพัฒนาด้านการเกษตรภายในตำบลชะอำ เป็นสถานที่จัดอบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรภายในตำบลชะอำ และกลุ่มเกษตรกรภายนอกตำบลชะอำ ตลอดจนศูนย์ฯ ยังมีความพร้อมในการใช้ข้มูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ เกษตรกรรมทั้ง พืชไร่ พืชสวน ปศุสัตว์ เช่น เอกสารทางวิชาการ ป้ายข้อมูลของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรภายในตำบลชะอำ ป้ายความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรแบบพอเพียง
ประวัติความเป็นมาของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชะอำ
ศูนย์ บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชะอำ จัดตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2542 โดยกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2547 ได้มีการถ่ายโอนศูนย์ฯ มาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอยู่ในความรับผิดชอบของกองสวัสดิการ สังคม เทศบาลเมืองชะอำ มีที่ตั้งศูนย์ฯ อยู่บ้านเลขที่ 999/22 ถ.ชลประทาน (ไทรย้อย) ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120 มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ จำนวน 19 คน ในการทำหน้าที่ ดังนี้ 1. ด้านบริหารจัดการศูนย์ฯ เช่น การกำหนดให้มีการประชุมประจำทุกเดือน การวางแผนการปฏิบัติงานของศูนย์ฯ 2. ด้านการจัดกิจกรรมสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกร ในการจัดทำข้อมูลประจำตำบล การจัดการถ่ายทอดความรู้ การเตือนภัย การสนับสนุนการสร้างการพัฒนาเครือข่ายกลุ่มต่าง ๆ ภายในตำบลชะอำ 3. ด้านประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ทุกกิจกรรมของศูนย์ฯ ให้กับประชาชนทราบอย่างทั่วถึง
แหล่งเรียนรู้ภายในศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชะอำ
จุดเรียนรู้ที่ 1 เป็นศูนย์รวมข้อมูลการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะนำแนวทางการดำเนิน ชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย ซึ่ง จอ.เขียน สร้อยสม เป็นเกษตรกรดีเด่นด้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับประเทศประจำปี พ.ศ. 2549
จุดเรียนรู้ที่ 2 การเรียนรู้เกษตรทฤษฏีใหม่ มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ในพื้นที่ 20 ไร่ ประกอบด้วย (1) ทำนำ 5 ไร่ (2) ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น 10 ไร่ (3) เลี้ยงปลา 4 บ่อ และร่องสวน 3 ไร่ (4) ที่อยู่อาศัย พืชผักสวนครัวสมุนไพร 2 ไร่
จุดเรียนรู้ที่ 3 จุดเรียนรู้การผลิตและการใช้น้ำหมักชีวภาพ (พด.2) การผลิตเพื่อใช้ภายในศูนย์ฯ และแจกให้เกษตรกรที่สนใจ
จุดเรียนรู้ที่ 4 จุดเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก เพื่อรักษาความชุมชื้นของดินในสวนผลไม้และไม้ยืนต้น เพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม เพื่อป้องกันตะกอนดินทับถมลงสู่สระน้ำ เพื่อทำให้พื้นที่ดินดานแตกร่วนขึ้นและหน้าดินจะมีความชื้นเพิ่มขึ้น เพราะรากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในดินดานได้ดี เป็นต้น ซึ่งได้รับพระราชทานรางวัลชนะเลิศการประกวดปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติครอง ราชย์ 60 ปี พ.ศ. 2549
จุดเรียนรู้ที่ 5 การใช้พืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) โดยจะปลูกหลังการทำนา และไถกลบระยะออกดอกแล้วปล่อยให้ย่อยสลายประมาณ 2 สัปดาห์จึงจะปลูกข้าวต่อได้
จุดเรียนรู้ที่ 6 การฝังกลบวัชพืชเพื่อปรับสภาพดิน
จุดเรียนรู้ที่ 7 จุดเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก
คณะกรรมการบริการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชะอำ ประกอบด้วย
ที่ปรึกษา
1. นายกเทศมนตรีเมืองชะอำ
2. รองนายกเทศมนตรีเมืองชะอำ
3. สมาชิกสภาเทศบาลเมืองชะอำ
4. ปลัดเทศบาลเมืองชะอำ
5. รองปลัดเทศบาลเมืองชะอำ
6. เกษตรอำเภอชะอำ
7. ประธานกรรมการชุมชนเขตเทศบาลเมืองชะอำทุกชุมชน
คณะกรรมการบริการศูนย์ฯ
1. จ.อ.เขียน สร้อยสม |
หมอดินอาสาประจำตำบลชะอำ |
ประธานกรรมการ |
2. นายผั่น อยู่สบาย |
ผู้แทนกลุ่มเกษตรผสมผสาน |
รองประธานกรรมการ |
3. นางจุนารีรัตน์ นวลละออง |
ผู้แทนเทศบาลเมืองชะอำ |
รองประธานกรรมการ |
4. นายพูน พรายศรี |
ผู้แทนกลุ่มทำนาบ้านห้วยทรายใต้ |
กรรมการ |
5. น.ส.วิลาวัลย์ พลจันทร์ |
ผู้แทนกลุ่มผักปลอดสารพิษ |
กรรมการ |
6. น.ส.วัฒนา นกขุนทอง |
ผู้แทนชุมชนบ้านห้วยทรายใต้ |
กรรมการ |
7. นายสมใจ น้อยสอาด |
ผู้แทนชุมชนบ้านห้วยทรายเหนือ |
กรรมการ |
8. นายแก่น มิตรดี |
ผู้แทนกลุ่มทำปุ๋ยหมัก ชุมชนรวมใจพัฒนา |
กรรมการ |
9. นายแก่น มิตรดี |
ผู้แทนชุมชนรวมใจพัฒนา |
กรรมการ |
10. นายลอย มิตรดี |
ผู้แทนชุมชนบ่อแขมด้านใต้ |
กรรมการ |
11. นายฉัน ผาดศรี |
ผู้แทนชุมชนบ่อแขมด้านเหนือ |
กรรมการ |
12. นางแอว มะลิทอง |
ผู้แทนกลุ่มทำนาชุมชนบ่อแขมด้านเหนือ |
กรรมการ |
13. นางอุไร บัวสด |
ผู้แทนชุมชนหัวบ้านชะอำ |
กรรมการ |
14. นางสำอางค์ จันทร์เจริญ |
ผู้แทนชุมชนบ้านใหญ่ชะอำ |
กรรมการ |
15. นายจำลอง พ่วงทอง |
ผู้แทนชุมชนบ้านหนองตาพต |
กรรมการ |
16. นางศศิธร วงศ์ศาโรจน์ |
ผู้แทนชุมชนบ้านสระ |
กรรมการ |
17. ด.ต.สัมฤทธิ์ หารโกทา |
ผู้แทนชมรมคนรักหญ้าแฝก |
กรรมการ |
18. น.ส.จิฬาภรณ์ สุขกล่ำ |
เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตำบลชะอำ |
กรรมการ/เลขานุการ |
19. นายประเวศ ปิ่นเนียม |
ผู้แทนเทศบาล |
กรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ |
บทบาทหน้าที่คณะกรรมการ
1. ด้านบริหารจัดการศูนย์ฯ
1.1. การจัดทำข้อตกลงร่วมกัน เกี่ยวกับแนวทางการบริการจัดการศูนย์
1.2 การกำหนดให้มีการประชุมทุกเดือน ร่วมกันแสดงความคิดเห็น และตัดสินใจในการบริหารจัดการศูนย์ฯ ได้แก่ การพิจารณากิจกรรม/โครงการ การวางแผนการปฏิบัติงาน และติดตามผล
1.3 การกระตุ้นผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผนการปฏิบัติงาน และติดตามผล
1.4 การวางแผนการปฏิบัติงานศูนย์ฯ อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่ เช่น จัดไว้บริการเกษตรกรในแต่ละวัน ดูแลสถานที่ตั้งศูนย์ฯ ฯลฯ
1.5 การประสานงานจัดหางบประมาณและบริหารจัดการการเงินทุนของศูนย์ฯ (ในกรณีที่มีเงินทุน)
1.6 การสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ฯ อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่ เช่น จัดคนไว้บริการเกษตรในแต่ละวัน ดูแลสถานที่ตั้งศูนย์ฯ ฯลฯ
2. ด้านการจัดกิจกรรมการสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกร
2.1 การจัดทำข้อมูลประจำตำบล
- สำรวจและรวบรวมข้อมูล พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกษตรให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง
- ร่วมกับเจ้าหน้าที่รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรของตำบล
- สรุปผลข้อมูลและบริการข้อมูลแก่เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.2 การจัดการถ่ายทอดความรู้
- หาความต้องการด้านการฝึกอบรม ดูงาน ฝึกงาน หรือการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร
- คัดเลือกและพัฒนาจุดสาธิต และวิทยากรเกษตรกร
- จัดกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ เช่น การฝึกอบรม ดูงาน แปลงสาธิต ฯลฯ
2.3 การสนับสนุนการจัดทำวิสาหกิจชุมชน (ร่วมกันผลิต รวมกันจำหน่าย)
2.4 การเตือนภัย แจ้งการเตือนภัยให้แก่ชุมชน ให้เฝ้าระวังและแจ้งข่าวให้สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่รับผิดชอบทราบเหตุ ผิดปกติ หรือภัยธรรมชาติ ภัยศัตรูพืช สัตว์ ประมง และภัยเศรษฐกิจอื่นๆ
2.5 การรับรองรายงานต่างๆ เช่น ตรวจสอบความถูกต้องของผู้ประสบภัย สำรวจนาข้าวนาปี นาปรัง และข้อมูลการเกษตรอื่นๆ
2.6 การสนับสนุนการสร้างการพัฒนาเครือข่าย ทั้งด้านกลุ่มผลิต กลุ่มแปรรูป เครือข่าย การตลาดหรือองค์กรในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
3. ด้านประชาสัมพันธ์
3.1 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ทุกกิจกรรมของศูนย์ฯให้ประชาชนรับทราบ และเข้าร่วมกิจกรรม เช่น ทางหอกระจายข่าว นิทรรรศการ จัดกิจกรรม ฯลฯ