ชุมชนบางไทรย้อย

  จัดตั้ง 31 กรกฎาคม 2547
  ประธานชุมชน นายสานิธ  สีคำ
  จำนวนกรรมการ (คน) 9
  จำนวนสมาชิก (คน) 2,102
  จำนวนครัวเรือน (หลัง) 582
  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชุมชน

                                               ประวัติศาสตร์ชุมชน

           ชุมชนบางไทรย้อย เดิมชื่อว่า หมู่บ้านบางควาย สันนิษฐานว่าในราว ปี พ.ศ.2400  ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 คนกลุ่มแรกที่มาตั้งถิ่นฐานเป็นพ่อค้าเกวียนซึ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองเพชรบุรีเป็นส่วนใหญ่ พ่อค้าเกวียนเหล่านั้นมักจะใช้เส้นทางระหว่างเพชรบุรี หัวหิน เมืองเก่าปราณ บรรทุกสินค้าไปมาค้าขาย และแวะพักค้างแรมในบริเวณนี้ เนื่องจากมีบ่อน้ำจืด มีความร่มรื่นเหมาะแก่การพักอาศัยและการตั้งถิ่นฐาน

       จากหลักฐานราชการบันทึกชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่าบางไทรย้อย แต่คำเรียกของคนในท้องถิ่นทั่วไปมักเรียกว่าบางควาย เป็นคำเรียกมาแต่เดิม หากแต่ในคราวตั้งวัดประจำหมู่บ้าน ในปี พ.ศ. 2458 ใช้ชื่อวัดว่า วัดบางควาย ต่อมาท่านพระครูวชิรคุณารักษ์(ทัย)เป็นเปลี่ยนชื่อเป็น วัดไทรย้อย เนื่องจากบริเวณวัดด้านทิศเหนือเดิมมีต้นไทรใหญ่อยู่ริมหาด แผ่กิ่งก้านสาขาปกคลุมเป็นบริเวณกว้างมีรากไทรย้อยลงมามากมาย เป็นที่พักของพ่อค้าเกวียนต่างถิ่นจำนวนมาก ระหว่างต้นไทรกับต้นไทรที่มีรากไทรขึ้นเต็มไปหมด ทางวัดบางไทรย้อยซึ่งตอนนั้นมีหลวงพ่อทัยเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ใช้ไม่ทำเป็นสะพานทางเดินเชื่อมระหว่างต้นไทรกับต้นไทร และมีรากไทรใช้เป็นที่เกาะติด เวลามีงานประจำปีทางวัดบางไทรย้อย ได้นำพระพุทธรูปไปไว้บนต้นไทร และให้ประชาชนขึ้นไปปิดทองพระพุทธรูปบนต้นไทร เมื่อปิดเสร็จแล้วจะเดินลงมาตามสะพานที่ได้ทำเอาไว้ โดยใช้รากไทรเป็นที่เกาะ จนทำให้ชาวบ้านแถบนี้เรียกว่า หมู่บ้านบางไทรย้อย แทนชื่อหมู่บ้านบางควาย ต่อมาเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 เทศบาลเมืองชะอำ ได้จัดตั้งให้หมู่บ้านบางไทรย้อยเป็น ชุมชนบางไทรย้อย
      
       ในเริ่มแรกของการตั้งถิ่นฐานของคนส่วนใหญ่จากบ้านบางเก่า
บ้านท่า และเมืองเก่าปราณ มีบ้านเมืองตั้งอยู่ประมาณ 40 หลังคาเรือน มี 3 หมู่บ้าน เรียกว่าบ้านใหญ่ บ้านกลาง ตะกาด ต่อมามีคนเข้ามาอยู่อาศัยตั้งถิ่นฐานมากขึ้นเกิดหมู่บ้านใหม่เรียกว่า บริเวณในกอก และ บ่อพุทรา

       ลักษณะการตั้งถิ่นฐานในยุคแรกนั้น บ้านเรือนโดยมากเป็นเรือนผูกไม้ขัดแตะหลังคามุงจาก ฝาทำด้วยไม้รวก ไม้ไผ่ มีใต้ถุนสูง ส่วนใหญ่ทุกบ้านมักจะเลี้ยงวัวไว้ใช้งานเทียมเกวียนและการทำไร่ ทำนา ดำรงชีพด้วยการเกษตรและค้าขายเป็นส่วนใหญ่ต่อมาในชั้นหลังประมาณปี พ.ศ.24802490 จึงเริ่มอาชีพทำการประมงเป็นหลักซึ่งพวกเราที่ทำการประมงเป็นชาวจีน คนท้องถิ่นเรียก คนเจ๊ก สำหรับคนไทยส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่มาจากบ้านท่า บางเก่า ปัจจุบันชุมชนบางควายเป็นชุมชนเรือเล็กชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดในเขตอำเภอชะอำ มีเรือเทียบท่าประมาณ 200 ลำ

       เดิมสินค้าที่สำคัญของหมู่บ้านบางควายนอกจากสินค้าประมงแล้ว ยังมีการค้าไม้ 2 ชนิด คือ ไม้ฟืน และไม้รวก สำหรับไว้ใช้ในการประมงและส่งไปจำหน่ายในท้องที่ใกล้เคียง เช่น หัวหินและเพชรบุรี

       ปัจจุบันชุมชนบางไทรย้อยหรือหมู่บ้านบางควาย ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน เรียกตามลักษณะของพื้นที่ตั้งของหมู่บ้าน คือ หมู่บ้านหัววัด หมู่บ้านบ้านใหญ่ หรือหมู่บ้านกลาง หมู่บ้านในตะกาด หมู่บ้านรวมญาติ(บริเวณติดชายทะเล) และหมู่บ้านสี่แยกบางไทรย้อย(บางควาย) ประชาชนส่วนใหญ่ของชุมชนจะประกอบอาชีพประมง และทำธุรกิจการประมง จนเป็นที่รู้จักของชาวชะอำทั่วไป


อาณาเขต

ทิศเหนือจรด       คลองบ่อพุทรา   ชุมชนบ่อพุทรา  ตำบล ชะอำ
ทิศใต้จรด            ถนนไทรย้อย    ชุมชนเนินสุรา   ตำบล ชะอำ
ทิศตะวันออกจรด ทะเลอ่าวไทย
ทิศตะวันตกจรด    ชุมชนรวมใจพัฒนา ตำบลชะอำ

 

แผนที่ชุมชน