การขึ้นทะเบียนความพิการ

พิมพ์
การขอมีบัตรความพิการ
จะทะเบียนความพิการได้ที่ไหน
             กองสวัสดิการสังคม  เทศบาลเมืองชะอำ  หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเพชรบุรี

ใช้เอกสารอะไรบ้างในการจดทะเบียนความพิการ
             1. เอกสารรับรองความพิการโดยแพทย์สถานพยาบาลจากทางราชการ
             2. บัตรประจำตัวประชาชน  ในกรณีเป็นเด็กใช้สูติบัตร  พร้อมทั้งถ่ายสำเนาจำนวน 1 ชุด (กรณียื่นแทนให้นำบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ยืนแทนมาด้วย)
             3. ทะเบียนบ้านฉบับจริง  พร้อมถ่ายสำเนา  จำนวน    1   ชุด
             4. รูปถ่ายขนาด  1  นิ้ว    จำนวน   2    รูป

หลังจากจดทะเบียนความพิการแล้วเทศบาลเมืองชะอำจะช่วยเหลืออย่างไร
             นำบัตรประจำตัวคนพิการมาขึ้นบัญชีเพื่อขอรับเงินความพิการที่กองสวัสดิการสังคม  เทศบาลเมืองชะอำ  จะมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษาและแนะนำการขึ้นบัญชีเพื่อขอรับเงินเบี้ยยังชีพความพิการ

การจดทะเบียนรับเบี้ยความพิการ
(รับขึ้นทะเบียน ตั้งแต่ 1 - 30 พฤศจิกายน ของทุกปี ในเวลาราชการ)


คุณสมบัติของผู้มีสิทธได้รับเงินเบี้ยยังชีพความพิการ
           1. สัญชาติไทย
           2. มีบัตรประจำตัวคนพิการ
           3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์เทศบาลเมืองชะอำ
           4. ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐ
           5. ในกรณีผู้พิการเป็นผู้ซึีงต้องขังหรือจำคุกอยู่ในเรือนจำ  ทัณฑสถานหรือสถานคุมขังของกรมราชทัณฑ์  หรือเป็นผู้ซึ่งถูกควบคุมอยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน   หรือศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน  ให้ไปลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเบี้ยความพิการต่อผู้บังคับบัญชาการ  หรือผู้อำนวยการตามสถานที่ที่อยู่

ใช้หลักฐานอะไรบ้าง
            1. สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ      จำนวน     1    ชุด
            2. สำเนาทะเบียนบ้าน                    จำนวน    1     ชุด
            3. สำเนาสมุดบัญชี (ออมทรัพย์)     จำนวน    1    ชุด
หลักฐานสำหรับผู้อื่นยื่นแทน
            1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน      จำนวน     1    ชุด
            2. สำเนาทะเบียนบ้าน                     จำนวน     1    ชุด
            3. หนังสือมอบอำนาจ                      จำนวน    1   ชุด
ยื่นเอกสารแล้วได้รับเงินเมื่อไร
            ผู้พิการที่ขึ้นทะเบียนไว้  ตั้งแต่วันที่  1- 30 พฤศจิกายน  ของทุกปี  จะได้รับเงินเบี้ยยังชีพ  เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม  ของปีถัดไป  (ไม่มีการจ่ายย้อนหลัง)
 
เอกสารต้องลงลายมือชื่อ  สำเนาถูกต้องทุกฉบับ   ผู้พิการที่ไม่สามารถเขียนได้  ให้พิมพ์ลายมือแทน